READER LAMP
โคมไฟนักอ่าน
EADER LAM
R
P
โคมไฟนักอ่าน
หลาย ๆ คนคงจะพบอุปสรรคมากมายในการอ่านหนังสือใช่ไหมคะ เสียงรบกวนบ้างล่ะ ความอยากบ้างล่ะ แต่มีหนึ่งปัญหาซึ่งเป็นปัจจัยหลักต่อการมองเห็นนั่นก็คือ "แสงไฟ" หากแสงน้อยจนเกินไปก็จะทำให้เราต้องเพ่งมากขึ้นและนำไปสู่การตาแห้งและปวดตาที่ตามมา หรือการที่เมฆเคลื่อนผ่านไปมาทำให้แสงเปลี่ยนไปมา แต่จะดีกว่าไหมคะ ถ้าเกิดเรามีแสงที่สามารถปรับให้พอเหมาะกับแสงในบริเวณนั้น เพียงแค่นี้เราก็จะหมดปัญหาเรื่องแสงไปแล้วค่ะ
ที่มาและความสำคัญ
ในปัจจุบันมีผู้ที่ต้องอ่านหนังสือเป็นจำนวนมากซึ่งมีอุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นแสงอาทิตย์ที่สว่างไม่เท่ากัน เพราะเวลาเปลี่ยนแปลงไปทำให้แสงเปลี่ยนแปลงตาม ส่งผลต่อคุณภาพแสงที่ใช้ในการมองเห็น
โครงงานโคมไฟนักอ่านทำขึ้นเพื่ิออำนวยความสะดวกในการอ่าน เมื่อเปิดโคมไฟนักอ่านแล้วจะช่วยปรับแสงให้เข้ากับแสงในห้องและมีปุ่มสำหรับเปิดเพลง ช่วยให้เห็นตัวอักษรได้คมชัดทำให้อ่านสะดวก สายตาก็จะไม่ได้รับผลเสีย รวมถึงมีกลิ่นหอมที่ทำให้ผ่อนคลายไม่รู้สึกเครียดจนเกินไปและยังสร้างบรรยากาศในการอ่านอีกด้วย
เพราะเหตุนี้เราจึงจัดทำโคมไฟนักอ่านขึ้นเพื่อเสริมสร้างการอ่านให้มีประสิทธิภาพ และให้อุปกรณ์ที่จะต้องใช้มีประโยชน์สูงสุด สิ้นเปลืองพลังงานน้อยลงและตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์
วัตถุประสงค์
1 เพื่อให้การอ่านหนังสือมีประสิทธิภาพ
2 เพื่อถนอมสายตาด้วยการใช้ความสว่างของไฟอย่างเหมาะส
3 เพื่อให้ผู้ใช้งานรู้สึกผ่อนคลายทั้งตอนทำงานและตอนปกติ
กลุ่มเป้าหมาย
ผู้ที่อ่านหนังสือในที่อับแสงหรืออ่านเป็นระยาเวลานาน นักเรียน นักศึกษา คนทำงาน ที่ต้องใช้แสงในการอ่านหนังสือ ทำงาน หรือ ทำการบ้านเป็นระยะที่เวลายาวนาน ซึ่งแสงนั้นเปลี่ยนไปตามระยะเวลาที่เปลี่ยนไป และอาจเป็นอุปสรรคได้
อุปกรณ์และหน้าที่
LIGHT
RGB LED
ตรวจสอบค่าแสงและค่าสีของวัตถุต่างได้
ควบคุมความสว่างของค่าสี RED BLUE GREEN เพื่อผสมและแสดงผล
FAN MOTOR
ระบายความร้อนจากภายในของอุปกรณ์
BUTTON
เพื่อให้มีการติดต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ การกดเมาส์ที่ปุ่มเหล่านี้จะเป็นคำสั่งให้เครื่องทำงาน
MAKER PLAYEGROUND BASE BOARD V3
เป็นฐานควบคุมเซนเซอร์ต่าง ๆ
ขั้นตอนการทำงานของชิ้นงาน
- เปิดสวิตช์โคมไฟ เสียงเพลงและกลิ่นหอมก็จะออกมา รวมถึงไฟที่มีแสงสีขาวที่จะประมวลค่าความสว่างในห้องแล้วปรับระดับให้เหมาะสมตามแสงในห้อง
- กดสวิตซ์อีกครั้ง เสียงเพลงและกลิ่นจะคงอยู่อย่างเดิม แต่ไฟจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวลแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการทำงานแบบเดิม
- กดสวิตซ์อีกครั้ง สียงเพลงและกลิ่นจะคงอยู่อย่างเดิม แต่ไฟจะเปลี่ยนเป็นสีส้มอมเหลืองแล้วจึงเข้าสู่กระบวนการทำงานแบบเดิม
- กดสวิตซ์อีกครั้งทุกอย่างก็จะหยุดลง
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.หาปัญหาและความต้องการของสมาชิกในกลุ่มและบุคคลอื่น ๆ ในโรงเรียน
2.นำความต้องการต่าง ๆ มาใส่ในชิ้นงาน จนกลายเป็นฟังก์ชั่นของชิ้นงาน
3.ร่างภาพชิ้นงาน
4.จัดทำระบบ maker playground เพื่อนำมาใช้ในชิ้นงาน
5.สร้างชิ้นงาน
6.ทดลองเพื่อประเมินชิ้นงาน
วิดีโอสาธิต
รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
1 ณัฐนิชา แซ่โง้ว ม.4/3 เลขที่ 6
2 นพวรรณ กิตติปัญญาธรรม ม.4/3 เลขที่ 13
3 จิดาภา ประทุมมา ม.4/3 เลขที่ 25
4 ณัชชารีย์ นิธิวิโรจน์กุล ม.4/3 เลขที่ 26
5 ธนัญชนก บุญส่ง ม.4/3 เลขที่ 27